คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการให้ความหมายของระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) 
ว่าเป็นซอฟต์แวร์ ซึ่งควบคุมกรทำงานของฮาร์ดแวร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการให้ความหมายใหม่ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอฟต์แวร์ หรือเฟิร์มแวร์ (Firmware คือ 
ปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโครโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM)
 หรือทั้งซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็น
ระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
  ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ 
โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ 
และผู้ใช้
 1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่ง
ออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
 Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
 2. ระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น
 การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูล
นระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ
 ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง 
ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ 
ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียก
ใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
 3. โปรแกรมประยุกต์ ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของซอฟท์แวร์ประยุกต์ ซึ่งซอฟท์แวร์ระบบประกอบด้วยซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ
- ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือ ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์
- ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) คือ เป็นโปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต้นฉบับ (Source Code = เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีภาษาระดับสูง) ไปเป็นภาษาเครื่อง (Object code = ประกอบด้วยเลขฐานสอง)
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกได้ดังนี้
-  การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
-  การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ผู้ใช้ คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม 
เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและ
ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ 
เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People wareทั้งสิ้น

2. หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็น
ต้องทราบกลไกการทำงาน  หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ  แบ่งออกได้ดังนี้
         1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
             คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
     2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง
          3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
              ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น 
 หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)
              ดังนั้น  ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว  การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ  ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว  และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย

วิดีโอ YouTube


3. ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
จากองค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าระบบปฏิบัติการถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง
ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจัดเป็นโปรแกรมระบบที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของ
คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรในระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
ดังนั้นระบบปฏิบัติการ หรือมักเรียกสั้นๆ ว่าโอเอสนั้นจึงหมายถึงชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแลการดำเนินการต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่างๆ 
ในระบบ ทั้งในส่วนที่ซอฟต์แวร์ และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้สามารถดำเนินการทำงานร่วมกัน
ได้อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวกลางที่ช่วยในการประสานการทำงานของฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์ด้วยการตอบสนองต่อผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
สะดวก และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้ว่าภายในคอมพิวเตอร์ต้องทำงานอย่างไร ปล่อยให้ป็นหน้าที่ของตัว
ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการแทน
   ดังนั้นระบบปฏิบัติการก็เปรียบเสมือนกับรัฐบาลที่คอยดูแลองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 
จัดหาหนทางที่เหมาะสมในการใช้ทรัพยากร(Resource)ร่วมกันที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน  อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด 
ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก อาจแบ่งได้ออกเป็น  3  ชนิด  คือ
         -   ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand-alone  OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและ
ให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว(เจ้าของเครื่องนั้นๆ)  นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสำนักงาน  ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้ใช้รองรับการทำงานบางอย่าง  เช่น  พิมพ์รายงาน  ดูหนังหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น  ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการ  จากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
         -   ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย  (network OS)  เป็นระบบการที่มุ่งเน้นและบริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน(multi-user)  นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ  มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง  sever  ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ  ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
         -   ระบบปฏิบัติการแบบฝัง   (embedded OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือSmart phone บางรุ่น  สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี  เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น  บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง  ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

5. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System = DOS) 
เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไม
โครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)
คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
1. DIR (Directory) – คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Dir – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
Dir /p – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
Dir /w – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
Dir /s, – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
Dir /od – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
2. CLS (Clear Screen) – คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
3. DEL (Delete) – คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readmitted หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์
READMITTED
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Del readme.txt – ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
Del *.* – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
Del *. – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
4. MD (Make Directory) – คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
5. CD (Change Directory) – คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
6. RD (Remove Directory) – คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
7. REN (Rename) – คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows
สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ
2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT
การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น
1. ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ แล้ว Restart เครื่อง
2. รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป
3. พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt
4. บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N
5. จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter
6. จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter
7. จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กด Enter
8. จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter
9. โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ
10. ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด กด แล้วกดดังรูป
11. แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ แล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย

6. ระบบปฏิบัติการ Windows 7
เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ 
สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยัง
ไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์
 7 
ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ 
วิสตา
คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup)  ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี
รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552
 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บ
ไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย
ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7
 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายคนให้การขนานนาม Windows 7 ว่า "Windows 7 คือ
 Windows Vista ที่ทำสำเร็จ"

7. ระบบปฏิบัติการ Linux
   Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tantalum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
    Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991โดยมีเฉพาะ Hard disk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minx อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูต ระบบผ่าน Minx
    Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง
ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายUNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
คำสั่งพื้นฐานของ Linux

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ สาระสำคัญ       ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญการใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้ เพื่อตรวจส...