คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์




ทที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์


   
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
 หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่ รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลางหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตาม
โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยสำหรับเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านเขียนจากหน่วยความจำหลักรวดเร็วมาก ทำให้หน่วยประมวลผลกลางนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยความจำรอง มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่มีจำนวนมากและต้องการนำมาใช้อีกในภายหลัง หากจะใช้งานก็มีการโอนถ่ายจากหน่วยความจำรองมายังหน่วยความจำหลัก
1.2
หน่วยส่งออก เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผล หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่ง นั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
1.1
ฮาร์ดแวร์บางประเภททำหน้าที่สองอย่างในชิ้นเดียวกัน  คือ
สามารถรับข้อมูลและแสดงผลได้พร้อม ๆ กัน
เช่น  จอภาพหรือมอนิเตอร์แบบสัมผัส  (Touch  Screen)
ซึ่งฮาร์ดแวร์ลักษณะนี้จะเรียกว่า  Input/Output  Device  (I/O  Device)
อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
1.3
                1. แป้นพิมพ์หรือคีบอร์ด  ทำหน้าที่รับข้อมูลในลักษณะการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์  โดยการสั่งงาน หรือส่งข้อมูลคำสั่งผ่านแป้นต่าง ๆ บนแป้นพิมพ์  ปัจจุบันแป้นพิมพ์มีทั้งแบบเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย ส่งสัญญาณและแป้นพิมพ์แบบไร้สาย
                2. เมาส์  ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการชี้และเลือกคำสั่งต่าง ๆ บนจอภาพ ผ่านตัวชี้หรือเมาส์พอยน์เตอร์  ด้วยการคลิก  คลิกขวา  และดับเบิ้ลคลิก  คำสั่งที่ต้องการ
 – เมาส์แบบทางกล  เกิดจากการหมุนลูกกลิ้งที่อยู่ใต้เมาส์ไปในทิศทางที่ผู้ใช้ต้องการ
 – เมาส์แบบใช้แสง  เกิดจากหลักการส่งแสงจากเมาส์ไปยังพื้นที่รองรับและสะท้อนกลับไปยังตัวรับ
สัญญาณ ที่เมาส์เพื่อวัดการเคลื่อนตำแหน่ง
          – เมาส์แบบไร้สาย  เกิดจากการนำเมาส์แบบทางกลมาพัฒนาร่วมกับเมาส์แบบใช้แสง  มีลักษณะ การทำงานด้วยการส่งสัญณาณจากเมาส์ไปยังเครื่องรับสัญญาณที่คอมพิวเตอร์  จึงทำให้เมาส์แบบนี้ไม่มีสายต่อ
               3. กล้องดิจิทัล  สามารถรับข้อมูลได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  จะมีการบันทึกข้อมูล ไว้ในหน่วยบันทึกข้อมูล  เมื่อผู้ใช้ต้องการรับข้อมูลจากกล้องก็เชื่อมต่อกล้องดิจิทัลโดยผ่านสายสัญณาณ
คอมพิวเตอร์ก็จะอ่านค่าในหน่วยบันทึกข้อมูลของกล้อง
               4. สแกนเนอร์  คือ  ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลต่าง ๆ เช่น  รูปถ่าย  ภาพวาด  ข้อความ  สัญลักษณ์
ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพ  โดยภาพที่ได้จากการสแกนจะแบ่งเป็น  4  ประเภท  คือ
– ภาพชนิดหยาบ  เป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำ  ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อย  ช่วยประหยัดเวลาใน
การสแกน
 – ภาพเฉดสีเทา  ภาพชนิดนี้จะมีพิกเซลมากกว่าภาพประเภทแรกจึงต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่า
ประเภทแรกด้วย
– ภาพสี  เป็นภาพที่มีความละเอียดสูง  ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสูง
  – ภาพตัวหนังสือ  เป็นภาพที่เกิดจากการสแกนข้อมูลประเภทตัวหนังสือ  เช่น  เอกสารและข้อความต่าง ๆ
                5. เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์  มีหลักการทำงานด้วยการอ่านข้อมูลจากแสงในลักษณะพาดขวาง  แล้วเปลี่ยนรหัสให้เป็นสัญญาณหรือข้อมูลดิจิทัล  ช่วยลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลและช่วยให้ทำงาน
ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  เช่น  เครื่องอ่านบาร์โค้ด
1.1
อุปกรณ์รับข้อมูลที่สำคัญของหน่วยรับข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปต้องมี
ได้แก่  เมาส์และแป้นพิมพ์เท่านั้น  ส่วนการเลือกใช้อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทอื่น ๆ
จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานเฉพาะด้านแต่ละประเภทของผู้ใช้งาน
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่ง นั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
 1.4 1.5
Mouse
Keyboard
 1.6 1.7
Joy Sticks
Track Ball
 1.8 1.9
Touch Screen
Scanner
 2.0 2.1
Digital Camera
Light Pen
 2.2 2.3
OMR (Optical Mark Reader)
POS (Point of Sale Terminal)  
แผงแป้นอักขระ (keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยรับข้อมูลจากการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระแล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์ แผงแป้นอักขระมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้มีจำนวนแป้น 104 แป้น ถึงแม้จะมีจำนวนแป้นมากแล้ว แต่การป้อนข้อมูลก็ยังมีตัวยกแคร่ (shift) สำหรับใช้ควบคู่กับตัวอักษรอื่น เช่น กดแป้น shift เพื่อเลือกตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แผงแป้นอักขระที่ใช้ในประเทศไทยสามารถใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยได้ การที่รับข้อมูลภาษาไทยได้เนื่องจากมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ทำงานภาษาไทยได้
2.4
แผงแป้นอักขระคอมพิวเตอร์ขนาด 104 แป้นพิมพ์
 เมาส์ (mouse) แทร็กบอล (trackball) และก้านควบคุม (joystick) การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะเน้นให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่าย จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์รับเข้าที่เหมาะสมกับโปรแกรม เช่น เมาส์ แทร็กบอล และก้านควบคุม ซึ่งสามารถเลื่อนตัวชี้ไปบนจอแล้วเลือกสิ่งที่ต้องการได้
 เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถเลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไปกับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแนวแกน x และแกน y เข้าสู่คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเมาส์มีหลายรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
2.5
เม้าส์
แทร็กบอล
2.6
ก้านควบคุม
ภาพเม้าส์แบบต่าง ๆ
 แทร็กบอล คือลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้า ผู้ใช้สามารถบังคับลูกกลมให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมการทำงานของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้ และใช้พื้นที่น้อย
2.7
แทร็กบอล
 ก้านควบคุม มีลักษณะเป็นก้านโยกซึ่งโยกได้หลายทิศทาง ขณะที่โยกก้านไปมาตำแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ก้านควบคุมมักเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมากในการเล่นเกม
 2.8
ก้านควบคุมแบบต่าง ๆ
ครื่องกราดตรวจ (scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสง เพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ หรือรูปภาพ แล้วให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป เครื่องกราดตรวจช่วยให้การรับข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระ อีกทั้งยังลดข้อผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกดแป้นอีกด้วย เครื่องกราดตรวจที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปได้แก่ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสแท่ง
 2.9 2.9
สแกนเนอร์
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
 เครื่องกราดตรวจรายหน้า (page scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านรูปภาพหรือตัวหนังสือ เช่น รูปถ่าย และ สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
3.0 3.1
รูปสแกนเนอร์แบบต่าง ๆ
เครื่องอ่านรหัสแท่ง ( barcode reader ) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง ( bar code ) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่างๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบเส้นทำให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย ปัจจุบันนิยมใช้ในห้างสรรพสินค้า สินค้าทุกชนิดจะติดรหัสแท่งไว้ ผู้ขายใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นรหัสของสินค้าใด ราคาเท่าใด และสามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้อย่างอัตโนมัติ
2.9
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
 เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก (Magnetic-Ink Character Recognition : MICR) ที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือ เครื่องอ่านตัวเลขที่พิมพ์อยู่บนตั๋วสัญญาใช้เงิน ตัวเลขเหล่านี้มีลักษณะพิเศษที่ทำให้เครื่องอ่านได้ เนื่องจากแต่ละวันธนาคารต้องรับและออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวนมาก จึงมีการใช้เครื่องอ่านตัวเลขช่วยในการอ่าน หรือเครื่องอ่านตัวเลขที่สำนักงาน ไปรษณีย์ใช้เพื่อช่วยแยกจดหมายตามรหัสไปรษณีย์
3.2
เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก
จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาดจากการระบุตำแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกินไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร
3.3
จอสัมผัส
อุปกรณ์รับเข้ายังมีอีกหลายชนิด ตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อให้การรับข้อมูลเข้าระบบทำได้สะดวก แม่นยำ และสามารถนำไปใช้งานได้ดี ดังตัวอย่างเช่น พนักงานการไฟฟ้า ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือ บันทึกข้อมูลการใช้ไฟที่อ่านจากมิเตอร์ตามบ้าน การตรวจข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ใช้เครื่องอ่านข้อมูลคำตอบของนักเรียน แล้วตรวจให้คะแนนอย่างอัตโนมัติ การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ระบบระบายดินสอดำลงบนกระดาษตามช่องที่กำหนด เพื่อให้เครื่องอ่านได้ และนำไปประมวลผลต่อไป
หน่วยประมวลผลกลาง คือ
ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
  • หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง
 3.4
  • หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น
        –   การคำนวณทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร
–   การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)
–   การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน  มากกว่า  หรือน้อยกว่า  ไม่ว่าข้อมูลจะเป็น ตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
–   การเลื่อนข้อมูล (Shift)
–   การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)
–   การตรวจสอบบิท (Test  Bit)
วิวัฒนาการของไมโครโพรเซสเซอร์
1) ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086 เริ่มพัฒนาและนำออกมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นซีพียูขนาด 16 บิต อย่างไรก็ดีบริษัทผู้ผลิตได้ผลิตซีพียูรุ่น 8088 ในเวลาต่อมา และกลายเป็นซีพียูของไมโครคอมพิวเตอร์ ซีพียูรุ่นนี้มีโครงสร้างการทำงานที่ต่อเชื่อมกับหน่วยความจำหลักโดยตรงได้มากถึง 1 เมกะไบต์ (megabyte) 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1024 กิโลไบต์ (kilobyte : kb) 1 กิโลไบต์ เท่ากับ 1024 ไบต์ (byte) และ 1 ไบต์ เท่ากับ 8 บิต
3.5
ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086
2) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 เป็นพัฒนาการรุ่นต่อมาของ 8086 นำออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2526 ต่อมากลายเป็นซีพียูของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ รุ่นเอที ขีดความสามารถของ 80286 ยังคงเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต แต่สามารถเชื่อมต่อกับหน่วยความจำหลักได้โดยตรงถึง 16 เมกะไบต์
3.6
ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286
3) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386 เป็นซีพียูรุ่นที่สามที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ นำออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 ซีพียูรุ่นนี้เป็นซีพียูขนาด 32 บิต มีประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่า 80286 มาก โดยเฉพาะโครงสร้างการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำสามารถต่อได้ถึง 4 กิกะไบต์
3.7
ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386
4) ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 พัฒนาต่อเนื่องมาจาก 80386 เริ่มผลิตออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2533 ซีพียูตัวนี้ยังคงเป็นซีพียูแบบ 80386 แต่เพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณจำนวนจริง ไมโครโพรเซสเซอร์นี้มีสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้น มีจำนวนทรานซิสเตอร์กว่าหนึ่งล้านตัวในชิพเดียวกัน
3.8
ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486
5) ไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 บริษัทผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรุ่นซีพียูจากการใช้หมายเลขมาเป็นชื่อทางการค้า เช่น เพนเตียม (pentium) เอทรอน(athlon) ซึ่งซีพียูนี้มีจำนวนทรานซิสเตอร์มากกว่าสามล้านตัวเป็นซีพียูขนาด 64 บิต และทำงานได้เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 โดยเฉพาะมีการทำงานภายในด้วยกระบวนการทำงานแบบขนานเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางก้าวหน้าตลอดเวลา มีผู้ผลิตหน่วยประมวลผล กลางจากหลายบริษัท แต่ละบริษัทได้พัฒนาขีดความสามารถที่แตกต่างกัน ในอนาคตหน่วยประมวลผลกลางจะได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นอีกมาก
4.0
ไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงกว่า 80486
4.1
จำนวนทรานซิสเตอร์ในไมโครโพรเซสเซอร์ 



หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่ ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้ หน่วยความจำหลักเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากไอซีเช่นเดียวกัน วงจรหน่วยความจำเก็บข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้า การเก็บข้อมูลจะเก็บรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น 8 บิต รวมกันเป็น 1 ไบต์ เนื้อที่เก็บข้อมูลของหน่วยความจำหลัก 64 เมกะไบต์ สามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งได้ 64 x 1024 x 1024 ไบต์เท่ากับ 67,108,864 ไบต์ หรือประมาณ 16,000 หน้ากระดาษ
4.2
ชนิดของหน่วยความจำ
หน่วยความจำหลัก  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. 1.              รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่
    –  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
    –  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
    –  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
    –  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
    –  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือเรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
4.3
แผงวงจรแรม
2. แรม (RAM : Random Access Memory) 4.4– ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล
– ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย
– ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
– ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่องเพื่อใช้ในการประมวลผล
– เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
– สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
– การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
 รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึงโดยสุ่ม หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป
4.5
รอม
ไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจมีขนาดของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันตามแต่ความต้องการ ปัจจุบันเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรจุโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
 หน่วยแสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล         การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ
  • แสดงผลทางบนจอภาพ
 4.6 4.7
        การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลาย ระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด
  • แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 
 4.8 4.9 5.0
การแสดงผลทางจอภาพ  หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer
         หน่วยความจำสำรอง  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้   ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก         อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
  • จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
 5.1ฮาร์ดดิสก์
จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access)  ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์
  • เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
  • จานแสง (Optical Disk)
 5.2เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive)
         เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แบบทดสอบ เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 ข้อ
ข้อที่ 1)ฮาร์ดแวร์ใดไม่จัดเป็นองค์ประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์
โมเด็ม
จอภาพ
แป้นพิมพ์
ชิปไมโครโปรเซสเซอร์

ข้อที่ 2)อุปกรณ์ในข้อใดจัดเป็นอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล
แป้นพิมพ์ ซีพียู
เมาส์ แฟลชไดรฟ์
สแกนเนอร์ ไมโครโฟน
แผ่นซีดี จอภาพ

ข้อที่ 3)เมาส์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่อย่างไร
ควบคุมการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
รับข้อมูลเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ควบคุมการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์บนจอภาพ
ข้อ ก และ ค ถูก

ข้อที่ 4)หน่วยคำนวณและตรรกะอยู่ส่วนใดของระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำสำรอง
หน่วยประมวลผลกลาง

ข้อที่ 5)อุปกรณ์ในข้อใด จัดเป็นอุปกรณ์หน่วยความจำรอง
แฟลชไดรฟ์ แรม
ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี
ซีพียู จอภาพ
เครื่องพิมพ์ ลำโพง

ข้อที่ 6)อุปกรณ์จับภาพ จัดเป็นส่วนประกอบพื้นฐานในหน่วยใดของคอมพิวเตอร์
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยความจำหลัก
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยแสดงผล

ข้อที่ 7)ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลไม่สูญหายจากอุปกรณ์ใด
แรม
ฮาร์ดดิสก์
เครื่องพิมพ์
สแกนเนอร์

ข้อที่ 8)ถ้าข้อมูลที่รับเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปของเสียง อุปกรณ์ที่ใช้ในหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงข้อมูล คือข้อใด
กล้องดิจิตอล-ลำโพง
เมาส์-จอภาพ
สแกนเนอร์-จอภาพ
ไมโครโฟน-ลำโพง

ข้อที่ 9)ข้อใดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลทั้งหมด
แป้นพิมพ์ ลำโพง เมาส์
สแกนเนอร์ ไมโครโฟน จอภาพ
กล้องดิจิทัล ไมโครโฟน แป้นพิมพ์
กล้องดิจิทัล สแกนเนอร์ ลำโพง

ข้อที่ 10)ฮาร์ดแวร์ในหน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่อย่างไร
ใช้บันทึกโปรแกรมหรือข้อมูล
รับข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล
ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน

ข้อที่ 11)วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูลคือข้อใด
หน่วยรับข้อมูล
อุปกรณ์แสดงผล
หน่วยความจำหลัก
หน่วยประมวลผลกลาง

ข้อที่ 12)หน่วยความจำหลักมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
2 ประเภทได้แก่ ROM และ RAM
3 ประเภทได้แก่ ROM RAM CMOS
2 ประเภทได้แก่ Static RAM และ Dynamic RAM
ข้อ ก และ ค ถูก

ข้อที่ 13)ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ RAM
หน่วยความจำชั่วคราว
เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ติดตั้งอยู่ที่เมนบอร์ด
ใช้บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ
เมื่อปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมจะลบหายไป

ข้อที่ 14)ROM เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลแบบใด
ข้อมูลจากการพิมพ์รายงาน
บันทึกรูปภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล
บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ
ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 15)หน่วยความจำในข้อใด บันทึกข้อมูลที่ลบหรือแก้ไขไม่ได้แต่อ่านได้
หน่วยความจำรอม
หน่วยความจำแรม
หน่วยความจำซีมอส
หน่วยความจำชั่วคราว

ข้อที่ 16)จอภาพจัดเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่อย่างไร
อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล
อุปกรณ์แสดงผลในรูปเสียง
อุปกรณ์แสดงผลที่เป็นรูปภาพเคลื่อนไหว
อุปกรณ์แสดงผลสำหรับการนำเสนอผลงาน

ข้อที่ 17)เครื่องฉายแอลซีดีเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือไม่อย่างไร 
เป็น ใช้สำหรับนำเสนองาน
ไม่เป็น เพราะใช้สำหรับชมภาพยนตร์
เป็น ใช้เป็นส่วนแสดงภาพเคลื่อนไหว
ไม่เป็น เพราะใช้เป็นอุปกรณ์เสริม

ข้อที่ 18)ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง
ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดในซีพียู
จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล
มีขนาดความจุของข้อมูลไม่เท่ากัน
จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลไว้โดยไม่ต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง

ข้อที่ 19)อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในข้อใดมีขนาดความจุน้อยและมากที่สุด
ฮาร์ดดิสก์และดีวีดี
ฟลอปปีดิสก์และดีวีดี
ฮาร์ดดิสก์และคอมแพคดิสก์
ฟลอปปีดิสก์และคอมแพคดิสก์

ข้อที่ 20)อุปกรณ์ในข้อใดเก็บข้อมูลเป็นแทรค (Track)
ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์
ฮาร์ดดิสก์
คอมแพคดิสก์
ฟลอปปีดิสก์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ สาระสำคัญ       ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญการใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้ เพื่อตรวจส...