คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้


สาระสำคัญ

     ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญการใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้ เพื่อตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการใช้งานโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ
1.ความสำคัญของโปรแกรมยูทิลิตี้
    ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ก้าวหน้าขึ้นมาก ความต้องการของผู้ใช้ในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โปรแกรมยูทิลิตี้จะช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์และช่วยประหยัดเวลาการทำงานให้กับผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการและช่วยปรับปรุงฮาร์ดแวร์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
2.ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้
    ประโยชน์ที่จะได้รับจากโปรแกรมยูทิลิตี้มีมากมายหลายประเภท ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้
     1.การจัดการข้อมูลในดิสก์และไฟล์
          เช่น โปรแกรมสำหรับการเตรียมรูปแบบการบันทึกข้อมูลบนดิสก์หรือการฟอร์แมต (Format) โปรแกรมช่วยในการย้ายข้อมูลหรือคัดลอกข้อมูลได้โดยสะดวก โปรแกรมช่วยค้นหาไฟล์ข้อมูลโดยระบุเงื่อนไขของไฟล์ที่ต้องการ โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์ในการจัดเก็บบันทึกให้เล็กลง (File Compression) ซึ่งสามารถขยายไฟล์กลับมาใช้งานตามปกติ โปรแกรมช่วยกู้ไฟล์ที่ถูกลบกลับคืน (Delete) โปรแกรมช่วยเปรียบเทียบหาไฟล์ที่เหมือนกัน
     2.การตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
          เช่น โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ (Diagnostic Program) โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร (Resource Utilization Performance Meter) โปรแกรมช่วยจัดระเบียบข้อมูลในดิสก์ (Disk Fragmentation) โปรแกรมลบข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ใช้งานในระบบ (Disk Cleanup) โปรแกรมตรวจวัดความสามารถของระบบ (Benchmark test)
     3.การจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์
          เช่น โปรแกรมช่วยสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำรอง (Backup and Recovery) โปรแกรมช่วยซ่อมไฟล์ข้อมูลหรือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในดิสก์ที่เสียหาย (File and disk repair) โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส (Antivirus) ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส คือ โปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ ฟอลปปี้ดิสก์ และหน่วยความจำ เพื่อตรวจหาโปรแกรมไวรัส โดยโปรแกรมจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบหากตรวจพบไวรัสและทำลายไวรัสให้ทันที เช่น โปรแกรม NOD Antivirus เป็นต้น
     4.การเพิ่มความสะดวกในการทำงาน
         เช่น โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานอัตโนมัติให้แก่คอมพิวเตอร์ (Task Scheduler) โดยตั้งเวลาเริ่มต้นให้โปรแกรมทำงานทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน หรือตามวันที่กำหนด เป็นต้น โปรแกรมขอความช่วยเหลือ (Script Lie) ตัวอย่างการสร้างขั้นตอนอัตโนมัติ การใช้ไฟล์ชนิดแบตช์ (Batch File) ในเอ็มเอสดอส กำหนดขั้นตอนการสั่งให้โปรแกรมทำงานตามลำดับ ในวินโดวส์ก็มีโปรแกรม Win Batch เป็นต้น
     5.ช่วยในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
           เช่น โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินอล (Terminal Emulator) โปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ (Computer to Computer Connection) ช่วยสร้างการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ต่อเชื่อมกันระหว่างเครื่องต่อเครื่อง อาจต่อเชื่อมกันผ่านอุปกรณ์โมเด็มและโทรศัพท์หรือต่อกันโดยพอร์ตและสายสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นพอตร์อนุกรมอาร์เอส 232 หรือพอร์ตขนาน ซึ่งปกติใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งควบคุมเครื่องอื่นๆ ในการทำงานระยะไกล เป็นต้น
     6.ใช้เพื่อการประหยัดพลังงาน
     เช่น โปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Saver) ช่วยป้องกันความเสียหายของจอภาพจากการแสดงภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลายาวนาน เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เปิดเครื่องเอาไว้ จอภาพจะแสดงภาพอยู่นิ่งๆ ซึ่งการแสดงภาพเดียวนานๆ จะทำให้เกิดความเสื่อมของสารฟอสฟอรัสที่เคลือบนั้น โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์จะทำงานอัตโนมัติ ถ้าภาพที่อยู่บนจอภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้กำหนดได้โดยจะแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพแทนการแสดงผลเดิมช่วยลดการมัวของจอภาพโดยลดความสว่างของจอภาพลง หรือแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ ได้แก่ สกรีนเซฟเวอร์ชื่อ 3RD Text, Bubbles, Google Photos Screen saver Mystify, Photo and Ribbons ดังรูป

   

การปรับแต่ง Task bar

การปรับแต่ง Task bar
1. ชี้ที่ทาสก์บาร์ คลิกปุ่มขวาของเมาส์
2. คลิกคำสั่ง Properties
3. คลิกติ๊กถูกที่ตัวเลือกต่างๆ คลิกติ๊กถูกเพื่อเลือกคำสั่งและเอาถูกออกเพื่อยกเลิกการทำงาน
Lock the task bar ล็อคทาสก์บาร์ไว้ ห้ามเคลื่อนไหว
Auto-hide the task bar ซ่อนทาสก์บาร์อัตโนมัติ จะปรากฏเมื่อเลื่อนเมาส์ไปที่ทาสก์บาร์เท่านั้น
Keep the task bar on top of other Windows แสดงทาสก์บาร์ไว้บนสุดในหน้าจอ
Group similar task bar button รวมไอคอนที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน เพื่อไม่ให้มีชื่อไอคอนบน ทาสก์บาร์มากเกินไป
Show Quick Launch แสดงหรือซ่อนควิกลอนช์บนทาสก์บาร์
4. เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK เพื่อดูผลงาน
ปรับแต่งไอคอนใน Sysytem Tray
ไอคอนต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ใน System Tray (ซิสเต็มเทรย์) สามารถปรับแต่ง โดยกำหนดให้ แสดงหรือซ่อนไว้ได้
1. Show the clock แสดงหรือซ่อนนาฬิกาในซิสเต็มเทรย์
2. Hide inactive icons ซ่อนไอคอนที่ไม่ได้ใช้งานในซิสเต็มเทรย์
3. คลิกปุ่ม Customize เพื่อไปปรับแต่งไอคอนเป็นรายโปรแกรม
ดูรายชื่อโปรแกรมที่มีการเรียกใช้งานในขณะนั้น
1. ปกติรายชื่อโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้งาน จะปรากฏอยู่บนทาสก์บาร์ แต่อาจมีรายชื่อโปรแกรมที่มี การเรียกใช้งานมากกว่านั้น
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Delete ที่แป้นพิมพ์ หรือชี้ที่ทาสก์บาร์แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์
3. จะปรากฏกรอบข้อความ Windows Task Manager ขึ้นมา
4. รายชื่อโปรแกรมที่มีการเรียกใช้งานในขณะนั้น
5. คลิกแท็ปอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม เช่น Processes, Performance

8. หน้าที่และการใช้งานของหน้าต่างโปรแกรม
เมื่อใดก็ตามที่คุณเปิดโปรแกรมแฟ้มหรือโฟลเดอร์ บนหน้าจอของคุณจะปรากฏเป็นกล่องหรือเฟรมที่เรียกว่า หน้าต่าง (นี่คือที่มาของชื่อระบบปฏิบัติการของ Windows ) หน้าต่างมีอยู่ทุกหนทุกแห่งใน Windows คุณจึงควรทำความเข้าใจวิธีการย้ายหน้าต่าง เปลี่ยนขนาดหน้าต่าง หรือทำให้หน้าต่างหายไป
ส่วนประกอบของหน้าต่าง
แม้ว่าเนื้อหาของหน้าต่างทุกหน้าต่างจะแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน นั่นคือ หน้าต่างมักปรากฏบนเดสก์ท็อป ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานหลักของหน้าจอของคุณ นอกจากนี้ หน้าต่างส่วนใหญ่ยังมีส่วนประกอบพื้นฐานที่เหมือนกันด้วย
9. การเรียกใช้งานโปรแกรม
-  คลิกที่ปุ่ม Start บนแถบงาน  หรือ กดปุ่ม  Ctrl + ESC จะปรากฏโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือกใช้งาน
-  คลิกที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการ
     หากต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ที่ได้ถูกติดตั้งไว้อีก ให้ชี้ไปที่  All  Programsกลุ่มใดที่มีเครื่องหมายต่อท้ายแสดงว่ามีกลุ่มหรือโปรแกรมย่อยให้เลือกอีก เช่นเลื่อนไปที่กลุ่มจะปรากฏกลุ่มและรายชื่อโปรแกรมที่มีอยู่  กลุ่มหรือโปรแกรมใดที่มีเครื่องหมาย ต่อท้ายอีก ก็จะมีกลุ่มหรือโปรแกรมย่อยต่อไปอีก
10. การออกจาก Windows
เมื่อคุณออกจากระบบ Windows โปรแกรมทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่ในขณะนั้นจะปิดการทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะไม่ปิดเครื่อง
คลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่มชี้ไปที่ลูกศรที่อยู่ถัดจากปุ่ม ปิดเครื่องรูปภาพของปุ่ม 'ปิดเครื่องแล้วคลิก ออกจากระบบ
หมายเหตุ
หลังจากที่คุณออกจากระบบ ผู้ใช้รายอื่นสามารถเข้าสู่ระบบได้โดยไม่ต้องเริ่มระบบของคอมพิวเตอร์ใหม่ นอกจากนี้ คุณไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลของคุณจะสูญหายถ้าผู้ใช้รายอื่นปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อคุณใช้ Windows เสร็จแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องออกจากระบบ คุณสามารถเลือกที่จะล็อกคอมพิวเตอร์ หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้การสลับผู้ใช้อย่างเร็ว ถ้าคุณล็อกคอมพิวเตอร์ เฉพาะคุณหรือผู้ดูแลเท่านั้นที่สามารถปลดล็อกได้
11. ความหมายและความสำคัญของระบบเครือข่าย
การออกจากระบบ Windows
  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับการ ใช้งานอย่าง แพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร ์เหล่านั้นถึงกับเพื่อ เพิ่มขีด ความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการ ใช้งาน ด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการ แบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจน สามารถทำงานร่วมกันได้
       สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นคือ การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างกัน และ การ เชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการ นำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือกา รนำข้อมูลไป ใช้ประมวล ผลในลักษณะแบ่ งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ด ดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถ จัดหา ให้ทุก คน ได้ การเชื่อม ต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ให้ กว้าง ขวาง และมากขึ้นจากเดิม
      การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อม ต่อระหว่าง เครื่อง ไมโคร คอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้การทำงาน เฉพาะมีขอบเขต กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการ ใช้เครื่องบริการ แฟ้มข้อมูล เป็นที่เก็บรวบ ควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูล กลาง มีหน่วยจัด การระบบสือสารหน่วย บริการ ใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบ สำหรับต่อเข้า ในระบบเครือข่าย เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกันซึ่งหมายถึง การให้ อุปกรณ์ทุก ชิ้นที่ต่อ อยู่บน เครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด ในลักษณะที่่ ประสานรวมกัน โดย ผู้ใช้เห็น เสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการ ในการนำเอาอุปกรณ์ต่าง ชนิด จำนวน มาก มารวม กันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์ เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
ความสำคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.     ทำให้เกิดการทำงานในลักษณะกลุ่มในระหว่างเครื่อง และอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
2. เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันขึ้น โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล ชุดคำสั่ง ข่าวสารสารสนเทศต่างๆ ตลอดใช้อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ สแกนเนอร์ ซีดีรอม โมเด็ม ฯลฯ
3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถกำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ให้กับแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้สะดวก
4. สามารถขยายอาณาเขตในการสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างไกลยิ่งขึ้นจากเครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชื่อมต่อกัน
ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องภายในหน่วยงานหรือบริษัทเล็กๆไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
นับล้านๆเครื่องทั่วโลกครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศที่รู้จักกันดีคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่
ที่สุดในโลก
12. อุปกรณ์พกพา
ปัจจุบันนี้ความบันเทิงภายในที่อยู่อาศัยมีการตอบสนองด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชุดโฮมเธียเตอร์ราคาแพง หรือจะเป็นเฉพาะชุดเครื่องเสียงเครื่องเล่น DVD ,VCD รวมไปถึงตัวโทรทัศน์หรือจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งแล้วแต่กำลังซื้อและรสนิยมของแต่ละคนที่จะเลือกซื้ออุปกรณ์ทางด้านความบันเทิงแบบไหน แต่สิ่งที่ตามมาเมื่อในบ้านมีอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น ตัวรีโมตคอนโทรลที่เอาไว้ควบคุมเครื่องเล่นต่างๆ ที่มีอยู่ก็มากชิ้นตามไปด้วย ดังนั้นคงจะเป็นเรื่องที่ดีอยู่ไม่น้อยถ้าหากความบันเทิงทุกรูปแบบจะสามารถตอบสนองตามความต้องการได้ด้วยการใช้รีโมตเพียงอันเดียว

4. หน้าที่ของ Windows 7

4. หน้าที่ของ Windows 7
1. หน้าที่หลักของโปรแกรมนี้ ก็คือ การทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันไดั เป็นระบบปฏิบัติการหลัก ของคอมพิวเตอร์ ไม่มีโปรแกรมประเภทนี้คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซึ่งโปรแกรมประเภทเดียวกันนี้ มีหลายตัว จากหลายบริษัท เช่น Linux, Mac OS แต่ Windows ได้รับ ความนิยมสูงสุด จากผู้คนทั่วโลก
2. จัดการกับไฟล์ในเครื่อง ในแฟลชไดรว์ ลบย้ายก็อปปี้ เปลี่ยนชื่อไฟล์ ฯลฯ
3. เขียนข้อมูล ลงแผ่นซีดี อาจจะเป็นเพลง ภาพ หรือข้อมูลไฟล์เอกสารทั่วๆ ไป
4. ตัดต่อวิดีโอในระดับพื้นฐาน ด้วยการนำภาพวิดีโอที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอมาตัดต่อใหม่ได้
5. ดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ต บันทึกข้อมูล ดาวน์โหลดข้อมูล ได้
6. การติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติมบน Windows 7 หรือลบโปรแกรมใดๆ ออกไป เป็นหน้าที่โดยตรงของโปรแกรมนี้
7. การปรับแต่งหน้าตา ธีม ของหน้าจอโปรแกรม จะเป็นหน้าจอ Windows 7 เอง หรือหน้าจอโปรแกรมอื่นๆ ส่วนประกอบหลักของหน้าจอ ต้องปรับแต่งที่ตัว Windows 7
8. การสร้างระบบเครือข่ายหรือสร้างเน็ตเวิร์ค การสร้างการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
9. ระบบความปลอดภัย การป้องกันเครื่องจากการบุกรุกทางอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
10. เล่นเกมมีเกมมาให้ทั้งเกมสำหรับผู้ใหญ่และเด็กๆ
11. ดูหนัง ฟังเพลง ชมรายการทีวี บันทึกรายการทีวี จัดการกับรูปภาพ แสดงไสลด์
12. การนำอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ มาใช้กับคอมพิวเตอร์ เช่น กล้องดิจิตอล แฟลชไดรว์ เครื่องพิมพ์ แสกนเนอร์ ฯลฯ Windows 7 จะทำหน้าที่จัดการเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้ กับคอมพิวเตอร์ ด้วยการติดตั้งไดรเวอร์หรือโปรแกรมควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ให้สามารถทำงานได้
13. ใช้งานเล็กๆ น้อยๆ เช่น เครื่องคิดเลข วาดภาพง่ายๆ พิมพ์เอกสารง่ายๆ ที่มีแค่ภาพประกอบ ไม่มีตารางหรือรูปแบบเอกสารที่ซับซ้อนอย่างนิตยสาร ทำรายงานทำหนังสือ แบบง่ายๆ
13. การถ่ายโอนไฟล์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นหรืออุปกรณ์อื่นอย่าง มือถือสมาร์ทโฟน แทปเล็ต โปรแกรมสำหรับทำงานกับแท็ปเล็ตอย่างโปรแกรมช่วยจำการเขียน ผ่านหน้าจอในแท็ปเล็ต


5. การปรับแต่งหน้าตาของ Windows 7
  การตกแต่งหน้าตาของวินโดวส์นั้น สามารถทำได้เหมือนกับวินโดวส์รุ่นก่อนๆ คือปรับแต่ง Background Wallpaper เป็นต้น ซึ่งวิธีการปรับแต่งก็จะต่างกันเล็กน้อยมีขั้นตอน ดังนี้
1. คลิกขวาบริเวณที่วางบน Desktop แล้วเลือก Personalize  หรือ ไปที่  ปุ่ม Start ==> Control Panel ==> Rationalization
2. คลิกที่ Desktop Background ดังรูป
3. ตรง Picture location ให้เลือกว่าต้องการจะเอารูปจาก Widows Desktop Backgrounds, Pictures Library, Top Rated Photos, Solid Colors  หรือกดเลือกที่ Browse เพื่อไปยัง Folder ที่เก็บรูป  เมื่อเลือกที่เก็บรูปได้แล้วก็สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการดังนี้
– ตรงรายการรูปที่แสดงสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกรูปทั้งหมดหรือรูปเดียว
–Change picture every หากเลือกหลายรูปก็สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เปลี่ยนทุกๆ กี่นาที
– ติ๊กถูกที่ Shuffle เพื่อให้เปลี่ยนรูปแบบสุ่ม

6. สกรีนเซฟเวอร์
 สกรีนเซฟเวอร์ (Screen Saver) เป็นโปรแกรมใช้สำหรับพักหน้าจอเมื่อเปิดเครื่องทิ้งไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งาน สกรีนเซฟเวอร์จะแสดงรูป หรือข้อความ เพื่อป้องกันสารเรืองแสงบนจอภาพเกิดเป็นรอยด่างเพราะจอแสดงภาพเดิมอยู่นาน มีวิธีการปรับแต่ง ดังนี้
1. กดเมาส์บนหน้าจอบริเวณที่ว่าง แล้วเลือก Properties เพื่อเปิดหน้าต่าง Display properties (สามารถเปิดหน้าต่างนี้ได้อีกวิธีหนึ่งโดย เลือก Start -> Setting -> Control panel -> Display)
2. ในหน้าต่างที่ปรากฎขึ้น เลือกแถบ screen saver จากนั้นเลือกชนิดของ saver ในช่องตัวเลือก และกำหนดเวลาที่ต้องการให้รอก่อนแสดงภาพในหน่วยนาที การใช้ค่าเวลาน้อยๆ อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ เพราะ saver จะทำงานบ่อยเกินไป เวลาระหว่าง 3 - 10 นาที น่าจะเป็นค่าที่เหมาะสม ลองใช้ปุ่ม Preview เพื่อทดลองดูผลการทำงานของsaver
3. หากต้องการกำหนดรายละเอียดในการแสดงภาพของ screen saver สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Settings รายละเอียดที่ผู้ใช้สามารถกำหนดได้อาจเหมือน หรือต่างกันตามชนิดของ saver เช่น 3D Text อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อความ เลือกชนิดของฟอนต์ ขนาด ความเร็ว และรูปแบบการหมุน ได้ด้วย
4. เราสามารถเลือก Screen saver ได้จาก Desktop Themes (เรียกใช้โดย Start - Setting - Control panel - Desktop Themes โปรแกรมนี้ติดตั้งมาพร้อมกับ Windows98 สำหรับ Windows95 ผู้ใช้จะต้องติดตั้งเพิ่มเติม)

7. การปรับแต่งทาสก์บาร์
มีลักษณะเป็นแถบเล็กๆ ปกติทาสก์บาร์จะอยู่ด้านล่างของหน้าจอจะมีปุ่ม Start และเครื่องมือต่างๆ อยู่ในนั้น สามารถที่เรียกใช้งาน หรือให้เครื่องมือเหล่านั้นออกมาแสดง หรือซ่อนเอาไว้ก็ได้ ซึ่งการปรับแต่งทาสก์บาร์ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน บน Windows ตามความต้องการ ซึ่งมีวิธีการปรับแต่งดังนี้
การย้ายตำแหน่งของ Task bar
ตำแหน่งของทาสก์บาร์ปกติจะอยู่ด้านล่าง แต่สามารถย้ายไปวางด้านใดๆ ก็ได้
1. เลื่อนเมาส์ ไปชี้ที่กลางทาสก์บาร์ คลิกปุ่มขวาเพื่อเรียกคำสั่งลัด
2. คลิกที่ Lock the Task bar ให้เครื่องหมายถูก หายไป
3. ชี้เมาส์ที่ทาสก์บาร์ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ แล้วลากย้ายไปวางที่ด้านใดๆ ของขอบจอ ด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวาของจอภาพได้ทั้งนั้น การแก้ไขวันที่และเวลา
การย้ายตำแหน่งของ Task bar
ตำแหน่งของทาสก์บาร์ปกติจะอยู่ด้านล่าง แต่สามารถย้ายไปวางด้านใดๆ ก็ได้
1. เลื่อนเมาส์ ไปชี้ที่กลางทาสก์บาร์ คลิกปุ่มขวาเพื่อเรียกคำสั่งลัด
2. คลิกที่ Lock the Task bar ให้เครื่องหมายถูก หายไป
3. ชี้เมาส์ที่ทาสก์บาร์ กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ แล้วลากย้ายไปวางที่ด้านใดๆ ของขอบจอ ด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวาของจอภาพได้ทั้งนั้น การแก้ไขวันที่และเวลา
ในซิสเต็มเทรย์ (System Tray) จะมีนาฬิกาแสดงเวลา ถ้านาฬิกาหรือวันที่ไม่ตรง ก็สามารถ ตั้งใหม่ได้ แต่ถ้าเวลาเปลี่ยนเองอยู่บ่อยๆ แสดงว่าแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดเริ่มเสื่อม ควรเปลี่ยนได้แล้ว
1. ชี้เมาส์ที่เวลาใน System Tray แล้วคลิกปุ่มขวา เรียกคำสั่งลัด
2. คลิกคำสั่ง Adjust Date/Time
3. คลิกเลือกวัน เดือน ปี ตามต้องการ
4. การเปลี่ยนเวลา ให้คลิกและพิมพ์เวลาใหม่ทับลงไป
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
6. แบตเตอรี่แบบเหรียญบนเมนบอร์ด

บทที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

บทที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

1. ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Portable operating system)
  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด เช่น ระบบปฏิบัติการ Unix, Linux, Ubuntu

2. ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary Operating System)
   ในสมัยก่อนผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบ ให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system) ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ (Portable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น



3. การ Log on เพื่อเข้าใช้งาน
เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาและวินโดว์เริ่มทำงานแล้วเรียกว่าการบู๊ต ก่อนที่เราจะเข้าไปใช้งานวินโดวส์ นั้นจะต้องมีการ  Log  on  โดยอาจจะมีรหัสผ่านที่เราตั้งเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้ที่รู้รหัสผ่านเท่านั้นสามารถเข้าไปใช้งานวินโดวส์ได้และยังเป็นการป้องกัน ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญไม่ให้เกิดความเสียหายเราจึงควรรู้ขั้นตอนการ  Log  on  เพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งมีวิธีตามขั้นตอนดังนี้



วิดีโอ YouTube


บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

บทที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการให้ความหมายของระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) 
ว่าเป็นซอฟต์แวร์ ซึ่งควบคุมกรทำงานของฮาร์ดแวร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการให้ความหมายใหม่ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอฟต์แวร์ หรือเฟิร์มแวร์ (Firmware คือ 
ปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโครโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM)
 หรือทั้งซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็น
ระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
  ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ 
โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ 
และผู้ใช้
 1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่ง
ออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
 Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
 2. ระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น
 การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูล
นระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ
 ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง 
ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ 
ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียก
ใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
 3. โปรแกรมประยุกต์ ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของซอฟท์แวร์ประยุกต์ ซึ่งซอฟท์แวร์ระบบประกอบด้วยซอฟต์แวร์ 2 ประเภท คือ
- ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือ ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์
- ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) คือ เป็นโปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต้นฉบับ (Source Code = เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีภาษาระดับสูง) ไปเป็นภาษาเครื่อง (Object code = ประกอบด้วยเลขฐานสอง)
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกได้ดังนี้
-  การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
-  การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ผู้ใช้ คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม 
เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและ
ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ 
เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People wareทั้งสิ้น

2. หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็น
ต้องทราบกลไกการทำงาน  หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ  แบ่งออกได้ดังนี้
         1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
             คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
     2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง
          3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
              ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น 
 หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)
              ดังนั้น  ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว  การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ  ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว  และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย

วิดีโอ YouTube


3. ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
จากองค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าระบบปฏิบัติการถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง
ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจัดเป็นโปรแกรมระบบที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของ
คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรในระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
ดังนั้นระบบปฏิบัติการ หรือมักเรียกสั้นๆ ว่าโอเอสนั้นจึงหมายถึงชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแลการดำเนินการต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่างๆ 
ในระบบ ทั้งในส่วนที่ซอฟต์แวร์ และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้สามารถดำเนินการทำงานร่วมกัน
ได้อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวกลางที่ช่วยในการประสานการทำงานของฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์ด้วยการตอบสนองต่อผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
สะดวก และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้ว่าภายในคอมพิวเตอร์ต้องทำงานอย่างไร ปล่อยให้ป็นหน้าที่ของตัว
ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการแทน
   ดังนั้นระบบปฏิบัติการก็เปรียบเสมือนกับรัฐบาลที่คอยดูแลองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 
จัดหาหนทางที่เหมาะสมในการใช้ทรัพยากร(Resource)ร่วมกันที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน  อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด 
ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก อาจแบ่งได้ออกเป็น  3  ชนิด  คือ
         -   ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand-alone  OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและ
ให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว(เจ้าของเครื่องนั้นๆ)  นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสำนักงาน  ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้ใช้รองรับการทำงานบางอย่าง  เช่น  พิมพ์รายงาน  ดูหนังหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น  ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการ  จากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
         -   ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย  (network OS)  เป็นระบบการที่มุ่งเน้นและบริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน(multi-user)  นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ  มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง  sever  ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ  ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
         -   ระบบปฏิบัติการแบบฝัง   (embedded OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือSmart phone บางรุ่น  สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี  เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น  บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง  ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

5. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System = DOS) 
เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไม
โครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)
คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
1. DIR (Directory) – คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Dir – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
Dir /p – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
Dir /w – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
Dir /s, – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
Dir /od – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
2. CLS (Clear Screen) – คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
3. DEL (Delete) – คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readmitted หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์
READMITTED
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Del readme.txt – ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
Del *.* – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
Del *. – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
4. MD (Make Directory) – คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
5. CD (Change Directory) – คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
6. RD (Remove Directory) – คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
7. REN (Rename) – คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows
สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ
2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT
การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น
1. ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ แล้ว Restart เครื่อง
2. รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป
3. พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt
4. บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N
5. จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter
6. จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter
7. จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กด Enter
8. จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter
9. โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ
10. ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด กด แล้วกดดังรูป
11. แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ แล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย

6. ระบบปฏิบัติการ Windows 7
เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ 
สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยัง
ไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์
 7 
ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ 
วิสตา
คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup)  ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี
รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552
 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บ
ไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย
ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7
 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายคนให้การขนานนาม Windows 7 ว่า "Windows 7 คือ
 Windows Vista ที่ทำสำเร็จ"

7. ระบบปฏิบัติการ Linux
   Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tantalum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
    Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991โดยมีเฉพาะ Hard disk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minx อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูต ระบบผ่าน Minx
    Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง
ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายUNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
คำสั่งพื้นฐานของ Linux

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

บทที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ สาระสำคัญ       ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญการใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ ประโยชน์ของโปรแกรมยูทิลิตี้ เพื่อตรวจส...